โรคติดเชื้อซัลโมเนลลา Salmonellosis    เชื้อซัลโมเนลลา ประกอบด้วยเชื้อกว่า 2400 ซีโรวาร์ เชื้อซัลโมเนลลาในไก่นั้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นเชื้อที่ก่อโรคเฉพาะเจาะจงในไก่ สาเหตุเกิดจากเชื้อ 2 ซีโรไทป์ได้แก่ S. pullorum และ S. gallinarum...

โรคติดเชื้อซัลโมเนลลา Salmonellosis

     เชื้อซัลโมเนลลา ประกอบด้วยเชื้อกว่า 2400 ซีโรวาร์ เชื้อซัลโมเนลลาในไก่นั้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 เป็นเชื้อที่ก่อโรคเฉพาะเจาะจงในไก่ สาเหตุเกิดจากเชื้อ 2 ซีโรไทป์ได้แก่ S. pullorum และ S. gallinarum
กลุ่มที่ 2 เป็นเชื้อที่ไม่เฉพาะเจาะจงต่อชนิดสัตว์ สาเหตุเกิดจากเชื้อหลายซีโรไทป์เชื้อที่สำคัญได้แก่ S. Enteritidis and S. Typhimurium isolates that are considered together as paratyphoid.

     โรคติดเชื้อซัลโมเนลลา Salmonellosesเชื้อซัลโมเนลลา ประกอบด้วยเชื้อกว่า 2400 ซีโรวาร์ เชื้อซัลโมเนลลาในไก่นั้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นเชื้อที่ก่อโรคเฉพาะเจาะจงในไก่ สาเหตุเกิดจากเชื้อ 2 ซีโรไทป์ได้แก่ S. pullorum และ S. gallinarum กลุ่มที่ 2 เป็นเชื้อที่ไม่เฉพาะเจาะจงต่อชนิดสัตว์ สาเหตุเกิดจากเชื้อหลายซีโรไทป์เชื้อที่สำคัญได้แก่ S. Enteritidis and S. Typhimurium isolates that are considered together as paratyphoid.

โรคขี้ขาว (PULLORUM DISEASE)

     โรคขี้ขาวเป็นโรคติดต่อในไก่ และไก่งวง สามารถติดเชื้อผ่านไข่ได้ โดยจะพบอาหารท้องเสีย สิ่งขับถ่ายเป็นสีขาว (ภาพที่ 1) มีอัตราการตายสูงในลูกไก่ ส่วนไก่ใหญ่จะเป็นพาหะของโรคโดยไม่แสดงอาการป่วย อัตราการป่วยและตายจะเพิ่มขึ้นในวันที่ 7 – 10 ไก่ที่ป่วยจะพบว่ามีมูลสีขาวติดก้น (ภาพที่ 2) ซึม และแคระแกร็น ขนไก่รอบๆ ทวารจะเปื้อนไปด้วยมูลไก่ และมีมูลแห้งติดอยู่

                                                               ภาพที่ 1 ไก่แสดงอาการท้องเสีย สิ่งขับถ่ายเป็นสีขาว

                                                                                    ภาพที่ 2 ไก่ที่ป่วยจะพบมูลติดก้น

     การบวมน้ำของข้อต่อขาหลัง (tibiotarsal joint) พบบ่อยว่ามีความสัมพันธ์กับอาการ (ภาพที่ 3) โรคขี้ขาวเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในทุกอายุในไก่และไก่งวง โดยพบความเสียหายสูงที่สุดในไก่ที่อายุน้อยกว่า 4 สัปดาห์

                                                       ภาพที่ 3 การบวมน้ำบริเวณข้อต่อขาหลัง (tibiotarsal joints)

     เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคนี้คือ S. pullorum เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นแท่ง มีความทนทานในสภาพแวดล้อมปานกลาง และสามารถอยู่ได้นานเป็นเดือน สามารถฆ่าเชื้อได้ด้วยการรมควันด้วยฟอร์มาดีไฮด์ในไข่ฟัก

     วิการที่ชี้เฉพาะของการติดเชื้อคือ พบตุ่มสีเทา-ขาวที่อวัยวะต่าง ๆ ดังนี้ หัวใจ (ภาพที่ 4 ) ปอด ตับ ผนังกระเพาะบด (ภาพที่ 5) ลำไส้ และเยื่อบุช่องท้อง

                ภาพที่ 4 พบตุ่มสีเทา-ขาวที่หัวใจ

                ภาพที่ 5 พบตุ่มสีเทา-ขาวที่ผนังกระเพาะบด

     ในบางครั้งพบจุดเนื้อตายเล็ก ๆ ที่ผิวตับ (ภาพที่ 6) เชื้อ S. pullorum สามารถติดต่อผ่านไข่จากฝูงที่ติดเชื้อ ลูกไก่ที่ฟักออกมาได้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังตัวอื่น ๆ ผ่านทางสิ่งขับถ่าย (มูลและปัสสาวะ) ไก่ที่เป็นพาหะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ตัวอื่นผ่านทางสิ่งขับถ่าย

                                                                        ภาพที่ 6 จุดเนื้อตายเล็ก ๆ ที่ผิวตับ

                                                                    ภาพที่ 7 ภาพม้ามที่มีการขยายใหญ่จากการติดเชื้อ

     การยืนยันผลการวินิจฉัยควรทำการเพาะแยกเชื้อ และพิสูจน์ว่าเป็นเชื้อ S. pullorum โรคขี้ขาวต้องแยกให้ออกจากการติดเชื้อซัลโมเนลลาชนิดอื่นการติดเชื้อ E. coli  Aspergillus ที่ทำให้เกิดวิการที่คล้ายคลึงในส่วนของพบที่ปอด Staphylococcus aureus ที่ทำให้เกิดข้ออักเสบ และเชื้ออื่นๆ  บางครั้งตุ่มที่พบที่ปอดก็มีความคล้ายคลึงกับเนื้องอกที่พบจากการติดเชื้อของโรคมาเร็กซ์

โรคไทฟอยด์ (FOWL TYPHOID)

   โรคไทฟอยด์ เป็นโรคติดเชื้อทางกระแสเลือดที่มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับไก่ และไก่งวง เชื้อที่เป็นต้นเหตุ คือ Salmonella gallinarum โดยเชื้อนี้มีความสามารถในการเป็นแอนติเจนเหมือนกับ S. pullorum และเชื้อทั้งสองตัวนี้มักจะให้ผลการตกตะกอนข้ามกันและกัน

     การแพร่เชื้อเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อที่เปลือกไข่ และเชื้อผ่านเข้าไปในฟองไข่ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง การแพร่กระจายเชื้อโดยหลักแล้วเกิดระหว่างการเลี้ยง หรือฝูงไก่ และพบอัตราการตายในไก่ใหญ่มากกว่า

โรคไทฟอยด์แบบเฉียบพลัน (Acute fowl typhoid)

     ปัญหาของโรคเริ่มจากพบว่าไก่กินอาหารลดลง และผลผลิตไข่ลดลง ความสมบูรณ์พันธุ์และอัตราการฟักลดลง พบปัญหาท้องเสีย อัตราการตายในแบบเฉียบพลันนั้นค่อนข้างสูงและแปรปรวนอยู่ระหว่าง 10 % และ 90 % ราว 1 ใน 3 ของไก่ที่ฟักออกจากไข่จากฝูงที่ติดเชื้อจะตาย วิการที่จำเพาะของรูปแบบเฉียบพลันในไก่โตนั้นพบว่าตับมีการขยายขนาดและมีสีทองแดงแกมเขียว (bronze greenish) (ภาพที่ 8)

                                                                 ภาพที่ 8 ตับมีการขยายขนาดและมีสีทองแดงแกมเขียว

     ในบางกรณี ตับที่ขยายใหญ่นี้จะมีลวดลายจากจุดเนื้อตายที่พบที่ผิวตับ (ภาพที่ 9) การเกิดโรคนี้มักพบในไก่ และไก่งวง แต่บางครั้งก็พบปัญหาได้ในนกบ้าน หรือนกป่า

                                             ภาพที่ 9 พบลวดลายของจุดเนื้อตายขนาดเล็กบนผิวตับที่ขยายขนาด

     ในกรณีอื่น ๆ ขนาดของจุดเนื้อตายนั้นจะมีความแปรผันได้ค่อนข้างมาก ตั้งแต่ขนาดเล็ก ๆ จนถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร (ภาพที่ 10) ไม่เหมือนกับโรคขี้ขาว โรคไทฟอยด์จะคงอยู่ได้นานเป็นเดือน

                                 ภาพที่ 10 พบจุดเนื้อตายในเนื้อตายขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1-2 เซนติเมตร

     ม้ามจะมีการขยายใหญ่กว่าขนาดปกติประมาณ 2-3 เท่า บางครั้งพบติ่งเนื้อสีเทาขาวนูนออกมาจากพื้นผิว แสดงถึงการเพิ่มจำนวนของฟอลลิเคิล (ภาพที่ 11)

ภาพที่ 11 ม้ามจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 2-3 เท่า และมีติ่งเนื้อสีเทาปนขาวอยู่ที่ผิวของม้าม

             ภาพที่ 12 พบปัญหาลำไส้อักเสบและมีแผลหลุม

                    ภาพที่ 13 พบการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ

     ปอดมีลักษณะพิเศษคือมีสีน้ำตาล (ภาพที่ 14) โดยพบเนื้อตาย ตามมาด้วยการพบก้อนคล้ายเนื้อมะเร็ง “sarcoma-like nodules”

                             ภาพที่ 14 ปอดมีสีน้ำตาล และพบก้อนคล้ายก้อนเนื้อมะเร็ง "sarcoma-like nodules”

โรคไทฟอยด์ชนิดเรื้อรัง (Chronic fowl typhoid)

พบวิการในส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ รังไข่ที่ติดเชื้อจะพบการอักเสบและเกิดการเสื่อมสภาพ (ภาพที่ 15)

                                                ภาพที่ 15 การอักเสบและการเสื่อมสภาพของรังไข่

                                                       ภาพที่ 16 ฟองไข่แดงที่มีลักษณะผิดรูป โดยมีรูปร่างคล้ายลูกตุ้ม

     ต้องพึงระลึกเลยว่าการรักษาด้วยยานั้นไม่สามารถกำจัดภาวะการเป็นตัวพาหะได้ การรักษาไก่ที่ป่วยด้วยโรคไทฟอยด์ หรือโรคขี้ขาวนี้จะไม่สามารถหวังผลการรักษได้ และไม่มีการแนะนำให้ใช้ถ้าพิสูจน์ได้ว่าฝูงไก่พันธุ์เป็นตัวนำเชื้อ ไข่ที่ได้ไม่ควรนำมาใช้ทำพันธุ์ต่อ

     โรคไทฟอยด์ ต้องวินิจฉัยแยกให้ได้จากโรคซัลโมเนลลาตัวอื่น ๆ การติดเชื้อ E. coli การติดเชื้อ Pasteurellaspp. และเชื้ออื่น ๆ

โรคพาราไทฟอยด์ (PARATYPHOID INFECTIONS)

     โรคพาราไทฟอยด์ เป็นโรคแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังในไก่ และสัตว์ปีกต่าง ๆ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีสาเหตุจากเชื้อซัลโมเนลลาซีโรไทป์ที่ไม่จำเพาะต่อโฮสต์ อัตราการป่วยและอัตราการตายที่สูงที่สุดนั้นปกติพบในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฟักจากออกจากไข่พบวิการของการอักเสบแบบมีเลือดออกและมีการลอกหลุดของผนังไส้ตัน (Haemorrhagic fibrinoustyphlitis) (ภาพที่ 17) เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีสารพิษเอนโดท๊อกซิน (endotoxin) ทำให้เกิดอาการท้องเสีย แห้งน้ำ และพบมูลเปื้อนรอบ ๆ รูทวาร

ภาพที่ 17 การอักเสบของไส้ตันแบบมีเลือดออกและมีการลอกหลุดของผนังเยื่อเมือก (Haemorrhagic fibrinoustyphlitis)

     เชื้อซัลโมเนลลาที่ก่อให้เกิดปัญหามีประมาณ 10-15 ซีโรไทป์ และส่วนใหญ่ที่ตรวจพบบ่อย ๆ คือ S. Enteritidis และ S. Typhimuriumโดยมักจะพบการอักเสบของลำไส้แบบมีเลือดออกของผิวเยื่อเมือก และพบบ่อย ๆ ว่าในไส้ตันจะเต็มไปด้วยหนองที่เป็นวุ้น จนถึงเป็นก้อนแข็งคล้ายเนย นี่เป็นการพบลักษณะเฉพาะของการติดเชื้อซัลโมเนลล่า แต่ไม่ได้จำเพาะกับทุกซีโรไทป์ การพบการอักเสบแบบนี้ มักจะพบบ่อย ๆ ว่ามีการอักเสบแบบมีก้อนหนองไฟบริน โดยรวมกันเป็นก้อนตามขนาดความจุของผิวไส้ตัน (ภาพที่ 18)

                ภาพที่ 18 การอักเสบแบบมีก้อนไฟบรินในไส้ตัน โดยรวมกันเป็นก้อนตามขนาดของความจุของไส้ตัน

                                                                                   ภาพที่ 19  จุดเนื้อตายที่ตับ

     การติดเชื้อของไก่ที่อายุน้อยนั้นเกิดขึ้นโดยการติดเชื้อผ่านเข้าสู่ไข่จากการปนเปื้อนเชื้อในอุจจาระที่ผิวเปลือกไข่ การแพร่กระจายของเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้จากการปนเปื้อนในแหล่งอาหารโปรตีนที่มาจากสัตว์ (เนื้อ กระดูกติดเนื้อ และแหล่งอื่นๆ) สัตว์จำพวกฟันแทะ โดยเฉพาะหนูเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญสำหรับนำเชื้อกลุ่มพาราไทฟอยด์

     การรักษานั้นสามารถยับยั้งเชื้อได้แต่ไม่สามารถกำจัดการติดเชื้อ การรักษาที่เหมาะสมสามารถลดอัตราการตายจนสัตว์นั้นมีการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกัน

(ที่มา: "Diseases of poultry - A colour atlas" - Ivan Dinev & CEVA Santé Animal, 2010)

กลับสู่ด้านบน